CLIMB TO CHANGE A LIFE / ปีนเพื่อเปลี่ยนชีวิต
เปิดรับสมัครทีมผู้จัด ปีนเพื่อเปลี่ยนชีวิต ประจำจังหวัด
ปีนเพื่อเปลี่ยนชีวิต ---for English please scroll down---
โครงการ ปีนเพื่อเปลี่ยนชีวิต เป็นการพาเด็กพิการทางการเคลื่อนไหวพร้อมครอบครัวไปพิชิตยอดเขาสูงด้วยความช่วยเหลือจากอาสาสมัคร โดยการสนับสนุนการจัดกิจกรรมจากภาคสังคม และภาคธุรกิจที่ตระหนักถึงการให้โอกาส และเห็นความสำคัญของความเท่าเทียมกันในสังคม ซึ่งหลังจากจบกิจกรรม จะได้รับประกาศนียบัตร “LIFE-CHANGER” หรือ “ผู้เปลี่ยนชีวิต” นับเป็นการฝ่าฟันอุปสรรคร่วมกัน ผ่านกิจกรรมที่สนุก ท้าทาย และมีความหมายต่อจิตใจ เพื่อนำไปต่อยอดการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้เข้าร่วมโครงการทุกคน
วัตถุประสงค์
- เพื่อส่งเสริมให้เด็กพิการทางการเคลื่อนไหวได้พัฒนาการเคลื่อนไหวทางร่างกายผ่านการฝึกซ้อม ปีนเขา ให้เด็ก ๆ เหล่านี้ได้มีทัศนคติเชิงบวกต่อตนเองเพื่อสร้างความมั่นใจในการมีความสามารถที่แตกต่าง จากการพิชิตยอดเขาร่วมกัน รวมถึงสร้างแรงบันดาลใจให้ตนเอง และครอบครัว ให้สามารถเรียนรู้ และใช้ชีวิตร่วมกับคนในสังคมได้
- เพื่อกระตุ้นให้ผู้ปกครองของเด็กพิการทางการเคลื่อนไหวได้ตระหนักถึงความสำคัญของแรงสนับสนุนจากครอบครัว ผ่านการพยายามฝึกซ้อมร่างกายและจิตใจ จนสามารถพิชิตยอดเขาด้วยกัน
- เพื่อกระตุ้นให้คนในสังคมเกิดจิตสำนึกในการยอมรับและให้โอกาสผู้พิการทางการเคลื่อนไหว ได้ใช้ชีวิตอย่างเท่าเทียมในสังคม ผ่านการเป็นอาสาสมัครที่ช่วยพาเด็กพิการพิชิตยอดเขา ผ่านเป็นผู้สนับสนุนทุนในการจัดโครงการ และผ่านการเป็นผู้ร่วมจัดโครงการ
สถานการณ์เด็กพิการทางการเคลื่อนไหวในปัจจุบัน
ผู้พิการในประเทศไทย และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จำนวนกว่าหกสิบล้านคน ยังคงถูกถูกกีดกันและแบ่งแยก ออกจากสังคม ทำให้เขาเหล่านั้นขาดโอกาสในการใช้ความสามารถอย่างเต็มที่เพื่อใช้ชีวิตอยู่ในสังคม สุดท้ายพวกเขาหลายล้านคน จบลงที่การพึ่งพาองค์กรการกุศล และงบประมาณจากรัฐบาลในฐานะผู้พิการที่ต้องพึ่งพิง ทำให้ปัญหาด้านความเท่าเทียมในคุณภาพชีวิตของคนพิการนั้น ยังคงแก้ไขให้สิ้นสุดได้ยาก แต่หากสังคมเกิดความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับคนพิการ และเริ่มให้โอกาส พร้อมการสนับสนุนพวกเขาอย่างจริงจัง จะเป็นการเริ่มต้นการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน
เด็กพิการทางการเคลื่อนไหวในประเทศไทยกระจายตัวอยู่ในทุกพื้นที่ มีจำนวนกว่า 100,000 คน หรือกว่า 10,000,000 คนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยังคงได้รับความสนใจน้อยที่สุดจากสังคม ส่วนใหญ่ไม่มีโอกาสได้เรียนรู้เหมือนเด็กทั่วไปเพราะขาดความมั่นใจ และขาดพื้นที่ที่สนับสนุนอย่างจริงจังจากสังคม การให้โอกาสเด็กๆเหล่านี้ ได้เรียนรู้ในสิ่งที่พวกเขาสนใจ จะช่วยลดความเหลื่อมล้ำในคุณภาพชีวิตได้ และที่นี่ มูลนิธิซาย มูฟเม้นท์ เรามุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กพิการทางการเคลื่อนไหว ให้สามารถเติบโตไปใช้ชีวิตอย่างอิสระ ตามหลักสิทธิมนุษยชนได้ต่อไปในอนาคต
ทำไมต้องปีนเขา ?
ที่มูลนิธิซาย มูฟเม้นท์ เราเชื่อมั่นในตรรกะ “การสอนคนให้รู้จักจับปลา ไม่ใช่หาปลามาให้คนกิน” ความหมายคือ “ปีนเพื่อเปลี่ยนชีวิต” ไม่ใช่การให้เสื้อผ้า ของใช้ หรืออุปกรณ์เพื่ออำนวยความสะดวกสบายชั่วขณะ แต่กิจกรรมนี้คือการให้โอกาสเด็กพิการฯ เหล่านี้ได้ค้นพบความสามารถผ่านการพยายามทำสิ่งที่ยากให้สำเร็จได้ด้วยตนเอง พร้อมการสนับสนุนจาก ครอบครัว และคนในสังคม จนสร้างความมั่นใจให้เด็กพิการทางการเคลื่อนไหวเปิดกว้างสู่การใช้ชีวิตต่อไปในวันข้างหน้าในฐานะมนุษย์ที่เท่าเทียมกัน
ผลลัพท์จากกิจกรรมปีนเพื่อเปลี่ยนชีวิต
เด็กพิการทางการเคลื่อนไหว ได้ค้นพบความสามารถผ่านการพยายามทำสิ่งที่ยากให้สำเร็จได้ด้วยตนเอง โดยการสนับสนุนจาก ครอบครัว และคนในสังคม สร้างความมั่นใจให้เด็กเหล่านี้ เปลี่ยนมุมมองที่มีต่อตนเองจาก เด็กที่มีความพิการ ให้เป็น เด็กที่มีความสามารถที่แตกต่าง และเปิดใจกว้างสู่การเรียนรู้ที่จะใช้ชีวิตอิสระอย่างเท่าเทียมกับคนอื่นๆในสังคม ลดการพึ่งพิงอาสาสมัคร เปลี่ยนทัศนติที่มีต่อเด็กพิการทางการเคลื่อนไหว ค้นพบความเมตตาของตนเองที่มีต่อผู้อื่นในสังคมสร้างความเข้มแข็งให้เกิดขึ้นกับตนเองหลังจากผ่านประสบการณ์ที่ท้าทายร่วมกันกับเด็กๆเหล่านี้และครอบครัว และนำประสบการณ์ไปประยุกต์ใช้กับผู้พิการอื่นๆในสังคมได้อย่างเหมาะสมผู้สนับสนุนโครงการ ภาคธุรกิจได้ตระหนักถึงการมีส่วนร่วมรับผิดชอบสังคม (Corporate Social Responsibility / CSR) และแสดงเจตนารมณ์ให้ลูกค้าขององค์กรได้รับรู้ถึงความตั้งใจที่จะรับผิดชอบสังคมขององค์กร เพื่อก้าวสู่การเป็นองค์กรชั้นนำระดับโลกผู้ร่วมจัดโครงการ ร่วมเผยแพร่โครงการให้สังคมเกิดได้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับคนพิการ และเริ่มให้โอกาส พร้อมการสนับสนุนพวกเขาอย่างจริงจัง ช่วยลดความเหลื่อมล้ำในคุณภาพชีวิตได้ เป็นกลุ่มคนในสังคมที่เริ่มต้นแก้ไขปัญหาการพึ่งพิงของผู้พิการอย่างยั่งยืน เพื่อประโยชน์ของประเทศเราเอง |
ร่วมเป็นผู้สนับสนุน “ปีนเพื่อเปลี่ยนชีวิต”
แม้ว่าเด็กๆเหล่านี้จะไม่มีแขนหรือขา แต่พวกเขามีความฝันที่เต็มไปด้วยพลังที่มุ่งมั่น พิสูจน์ได้จาก โครงการ “ปีนเพื่อเปลี่ยนชีวิต” ที่ผ่านมา 19 ครั้ง ทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศ ซึ่งกำลังขยายความร่วมมือต่อเนื่องไปอีกทั่วโลกในเวลาอันสั้น เราได้ข้อสรุปที่ชัดเจนว่า หากเด็กพิการทางการเคลื่อนไหว สามารถพิชิตเป้าหมายที่ยากเช่นการปีนเขาทั้งที่ไม่มีแขนขาที่สมบูรณ์ได้ พวกเขาก็จะสามารถใช้ชีวิตอย่างอิสระ ลดการพึ่งพิง และเท่าเทียมกับคนอื่นในสังคมได้เช่นกัน เพียงแต่พวกเขาต้องได้รับความเชื่อมั่นและโอกาสจากท่าน จากเรา หากไม่มีการสนับสนุนอย่างจริงจังจากทุกภาคส่วนในสังคม โอกาสอาจเข้าไม่ถึงเด็กพิการเหล่านี้ การสนับสนุนนี้ จึงถือเป็น การแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมแบบยั่งยืน
ขอแสดงความยินดีที่องค์กรของท่านกำลังจะเข้าสู่ความเป็นผู้นำแห่ง Sustainable Corporate Social Responsibilities (CSR) หรือเป็นองค์กรที่แสดงความรับผิดชอบต่อสังคมแบบยั่งยืน ซึ่งนอกจากจะเป็นสิ่งที่ถูกต้องในการดำเนินกิจการขององค์กรชั้นนำทั่วโลกแล้ว ยังเป็นส่วนสำคัญกับการตัดสินใจซื้อจากลูกค้า และคู่ค้าขององค์กรอีกด้วย ด้วยการร่วมเป็นผู้สนับสนุนการดำเนินโครงการ ที่จะเป็นช่องทางให้คนในสังคม ได้เห็นเจตนารมณ์ขององค์กรของท่าน ผ่านทุกช่องทางสังคมออนไลน์ซึ่งถือว่าเป็นสื่อที่มีความกว้างและเข้าถึงได้มากที่สุดในยุคปัจจุบัน
ร่วมเป็นผู้สนับสนุนการเปลี่ยนชีวิต ติดต่อที่ project@zmf-asia.org
เพราะ “ความพิการ” ไม่ใช่ภาระ แต่คือ “พลัง”
Because they are not “disabled” but only “Differently-abled”
ก้าวใหม่ของปีนเพื่อเปลี่ยนชีวิต
จากการดำเนินโครงการปีนเพื่อเปลี่ยนชีวิตทั้งหมด 20 ครั้ง ใน 5 ประเทศทั่วโลก และ 6 จังหวัดในประเทศไทย (ข้อมูล ณ เดือนธันวาคม 2563)
มูลนิธิ ซาย มูฟเม้นท์ ได้ตระหนักว่าการสร้างทัศนคติที่ถูกต้องเกี่ยวกับผู้พิการให้กับคนในสังคมที่ได้ผลดี คือ การเปิดโอกาสให้คนในสังคมได้เรียนรู้ที่จะช่วยเหลือเด็กพิการทางการเคลื่อนไหวด้วยตนเอง โดยผ่านการร่วมกิจกรรมที่มีกระบวนการเรียนรู้ที่เหมาะสม สามารถเปลี่ยนทัศนติที่มีต่อเด็กพิการเหล่านี้ได้ทันที
นอกจากจะเป็นการค้นพบความเมตตาของตนเองที่มีต่อผู้อื่นในสังคมแล้ว ยังช่วยสร้างความเข้มแข็งให้เกิดขึ้นกับตัวเองหลังจากผ่านประสบการณ์ที่ท้าทายร่วมกันในโครงการปีนเพื่อเปลี่ยนชีวิตอีกด้วย
มูลนิธิ ซาย มูฟเม้นท์ มีเป้าหมายที่จะทำให้ทุกพื้นที่เป็นที่ ๆ ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นผู้พิการ หรือไม่พิการ จึงมองเห็นโอกาสในการขยายกิจกรรมปีนเพื่อเปลี่ยนชีวิต ให้เข้าไปสู่ทุกจังหวัดทั่วประเทศไทย โดยความร่วมมือของคนในสังคม ทั้งนี้จะสามารถบรรลุเป้าหมายได้สูงสุด หากได้รับความร่วมมือจากกลุ่มคนรุ่นใหม่ ที่มีแนวคิดใหม่ ๆ มีความสามารถ และความตั้งใจในการเปลี่ยนแปลงสังคมให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง และผู้อื่น ให้มาร่วมช่วยเหลือเด็กพิการทางการเคลื่อนไหวในพื้นที่ต่าง ๆ ซึ่งเราเชื่อว่าในมหาวิทยาลัยเองก็มีนักศึกษาที่มาจากหลากหลายพื้นที่ และอาจจะสามารถขยายโครงการเข้าสู่พื้นที่ของตนเองได้หากเกิดความเข้าใจ นอกจากจะเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับคนในจังหวัดแล้ว หากทุกคนให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงทัศนคตินี้ ในระยะเวลาอันใกล้เราจะได้เห็นการจัดสรรงบประมาณของแผ่นดินซึ่งมาจากเงินภาษีของประชาชนทุกคนได้นำไปใช้จ่ายในการพัฒนาประเทศในด้านที่จำเป็น มากกว่าการแก้ไขปัญหาการพึ่งพิงของผู้พิการทางการเคลื่อนไหว เพียงเพราะพวกเขาเหล่านั้นขาดโอกาส และแรงบันดาลใจในการเรียนรู้ที่จะใช้ชีวิตอย่างอิสระ และเด็กพิการทางการเคลื่อนไหวในประเทศไทยจำนวนกว่า 100,000 คน จะได้เติบโตขึ้นมาเป็นบุคคลที่สามารถสร้างประโยชน์ให้กับประเทศและภูมิภาคอย่างเท่าเทียมกับผู้ไม่พิการในสังคม
สำหรับทางทางจังหวัดที่เข้าร่วมจัดโครงการนี้ นอกจากจะถือเป็นจังหวัดที่สนับสนุนความเท่าเทียม และการให้โอกาสผู้พิการแล้ว ยังสามารถใช้โอกาสนี้ในการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวในจังหวัดอีกด้วย
“หากเด็กพิการทางการเคลื่อนไหวสามารถพิชิตยอดเขาที่พื้นที่ของท่านได้ ทุก ๆ คนก็ต้องทำได้” “เมืองไทย ใคร ๆ ก็เที่ยวได้”
ก้าวย่างของปีนเพื่อเปลี่ยนชีวิต
ชื่อภูเขา |
ความสูง (เมตร) |
เมือง / ประเทศ |
ปี(ค.ศ) |
จำนวนเด็กพิการฯ | จำนวน อาสาสมัคร |
1. ภูกระดึง | 1,316 | เลย / ไทย | 2012 | 1 | 20 |
2. น้ำตกเอราวัณ | 400 | กาญจนบุรี / ไทย | 2014 | 5 | 40 |
3. คิรีมันจาโร | 5,895 | แทนซาเนีย / แอฟริกาใต้ | 2015 | 1 | 2 |
4. เขาเทวดา | 1,123 | สุพรรณบุรี / ไทย | 2015 | 20 | 80 |
5. ปีนังฮิลล์ | 833 | ปีนัง / มาเลเซีย | 2016 | 34 | 134 |
6. เขาแดง | 725 | ประจวบคีรีขันธ์/ ไทย | 2016 | 5 | 25 |
7. ภูเขาไฟฟูจิ | 3,776 | ญี่ปุ่น | 2016 | 2 | 40 |
8. เนินช้างศึก | 1,053 | กาญจนบุรี / ไทย | 2016 | 30 | 90 |
9. บูกิต แกสซิง | 160 | กัวลาร์ลัมเปอร์ / มาเลเซีย | 2017 | 9 | 100 |
10. ปีนังฮิลล์ | 833 | ปีนัง / มาเลเซีย | 2017 | 27 | 95 |
11. เขาแดง CSR project |
725 | ประจวบคีรีขันธ์/ ไทย | 2017 | 5 | 33 |
12. เขาแดง | 725 | ประจวบคีรีขันธ์/ ไทย | 2017 | 7 | 42 |
13. ปีนังฮิลล์ | 833 | ปีนัง / มาเลเซีย | 2018 | 34 | 116 |
14. บ้านนาต้นจั่น | 800 | สุโขทัย / ไทย | 2018 | 5 | 25 |
15. เขาแดง Train the Trainer | 725 | ประจวบคีรีขันธ์/ ไทย | 2018 | 3 | 10 |
16. กำแพงเมืองจีน | 750 | ปักกิ่ง / จีน | 2019 | 17 | 70 |
17. ปีนังฮิลล์ | 833 | ปีนัง / มาเลเซีย | 2019 | 12 | 169 |
18. เขานางพันธุรัต | 750 | นครสวรรค์ / ไทย | 2019 | 10 | 65 |
19. เวสต์เมาเทน | 2,500 | คุนหมิง / จีน | 2019 | 17 | 50 |
20. เขาแดง Design for Fire Escape Competition 21. เขาขุนพนม 22. เขาทามันทูกู 23.อีเกิล ฮิลล์ |
725 750 341 434 |
ประจวบคีรีขันธ์/ ไทย นครศรีธรรมราช/ไทย กัวลาลัมเปอร์/มาเลเซีย ปีนัง / มาเลเซีย |
2020 2023 2023 2023 | 6 7 20 20 |
35 45 178 453 |
หลักเกณฑ์ของกิจกรรมปีนเพื่อเปลี่ยนชีวิต
1. เด็กพิการทางการเคลื่อนไหว (CHAMPION) ต้องเข้าร่วมกิจกรรมพร้อมกับผู้ปกครอง หรือผู้ดูแล อย่างน้อย 1 คน
2. อาสาสมัคร (LIFE-CHANGER) เข้าร่วมกิจกรรมมีสัดส่วนอย่างน้อย 3 ต่อ 1 คืออาสาสมัคร 3 คน ต่อ เด็กพิการทางการเคลื่อนไหว 1 คน
3. สัญลักษณ์แห่งความสำเร็จ (MAKING A MARK ACTIVITY) เด็กพิการทางการเคลื่อนไหว จะทำกิจกรรมที่เป็นสัญลักษณ์แห่งความสำเร็จ เพื่อระลึกถึงเส้นทางที่เปลี่ยนชีวิตครั้งนี้ เช่น การวาดภาพยอดเขา หรือสิ่งที่ประทับใจระหว่างปีนเขา บนยอดเขา หรือจุดที่เป็นเส้นชัย
4. ถอดบทเรียน แบ่งปันประสบการณ์ (SHARING SESSION) ผู้ร่วมกิจกรรมทุกคนจะได้ร่วมแบ่งปันประสบการณ์ และความรู้สึกที่เกิดขึ้นจากการร่วมกิจกรรม และถอดบทเรียนว่าจะสามารถนำประสบการณ์ หรือความเปลี่ยนแปลงในใจนั้นไปใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อการใช้ชีวิตร่วมกันอย่างเท่าเทียมในสังคมต่อไปได้อย่างไร
5. ขอบคุณ (APPRECIATION SESSION) ผู้ร่วมกิจกรรมทุกคนได้แสดงความขอบคุณต่อกัน ที่ได้ร่วมเปลี่ยนแปลงทัศนคติ ในการใช้ชีวิตผ่านการร่วมกิจกรรม ปีนเพื่อเปลี่ยนชีวิต
หลังจบกิจกรรมครบทุกหลักเกณฑ์ ผู้ร่วมกิจกรรมทุกคนจะได้รับใบประกาศนียบัตรสำหรับ LIFE-CHANGER เพื่อเป็นการประกาศเกียรติคุณว่าได้ร่วมกันเปลี่ยนคุณภาพชีวิตของคนในสังคมให้ดีขึ้นผ่านการเสียสละแรงกาย แรงใจ และเวลามาเรียนรู้เพื่อเป็นผู้ให้ และผู้รับร่วมกันผ่านกิจกรรม ปีนเพื่เปลี่ยนชีวิต
ตารางการเตรียมกิจกรรม ปีนเพื่อเปลี่ยนชีวิต
ระยะเวลาเตรียมงานก่อนวันจัดกิจกรรม |
1 - 30 วัน |
31 - 60 วัน |
61 - 90 วัน |
ตั้งทีมทำงาน 5 - 10 คน |
เปิดรับสมัครเด็กพิการ ฯ |
เตรียมความปลอดภัย และอุปกรณ์สำหรับกิจกรรม |
|
สำรวจหาภูเขาที่จะปีน |
เปิดรับอาสาสมัคร |
จัดกลุ่มสำหรับปีนเขา |
|
ติดต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง |
ประชาสัมพันธ์โครงการ |
ปฐมนิเทศน์ผู้เข้าร่วม |
|
สำรวจภูเขาที่เลือกพร้อมทีมความปลอดภัย |
สร้างกลุ่มในการสื่อสารกับผู้เข้าร่วมทุกคน |
กระตุ้นการมีส่วนร่วมภายในกลุ่ม |
|
ร่างโครงการ หาทุนสนับสนุน |
สร้างความสัมพันธ์ภายในกลุ่ม |
ประชาสัมพันธ์โครงการ |
|
สำรวจภูเขารอบที่ 2 พร้อมอาสาสมัคร และเด็กพิการ ฯ อาสา ที่ร่วมโครงการ |
สำรวจภูเขารอบสุดท้าย พร้อมยืนยันความเรียบร้อยกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง |
||
เตรียมการเดินทาง ที่พัก อาหาร เสื้อยืด โครงการ |
แจ้งข้อมูลที่เกี่ยวข้องให้ผู้เข้าร่วมรับทราบและตรวจสอบ |
||
เชิญสื่อมวลชนร่วมงาน |
ดำเนินกิจกรรม |
||
เชิญผู้สนับสนุนร่วมงาน |
ติดตามผล |
Because they are not disabled but Differently-abled.
A true story - “...Climbing the mountain was very difficult, yet so much fun, and I wouldn’t have realized I can do this, If I didn’t come ... " Bam Bam told us after completing her first Climb to Change a Life at 800 metres high - Thewada Peak, Supanburi province, Thailand with the 4th Climb to Change a Life project in 2015. See interview video here.
Four months prior to the climb. Bam Bam, a girl with movement disabilities since birth have just had a scoliosis surgery. She was not able to walk properly, but with the support from her family and determination to conquer Thewada Peak with the Climb to Change a Life project 3, she kept practicing on her movement until she was able to walk just in time for the climb. But on the way up to summit 800 metres high with a 45 degrees incline, the hill is a huge obstacle for her, she was crying because of being tired, she threw herself down on the hill and about to give up. But she successfully made it to the peak with the help from the volunteers who were assigned to take care of her. That day, we have seen the light in her eyes through the tears of pride in the ability of her own. Not only Bam Bam who gained confidence from this success but her parents also gained their beliefs in her potential.
The main key for children with movement disabilities to reach difficult goals is the support from family and society around them as same model as they touched from volunteers who had never known them before at “Climb to Change a Life”.
From now on, Bam Bam will have confidence with every step she move and open up for new challenges to discover her real abilities to live independently and equally in society which is the goal of “Climb to Change a Life” by Zy Movement Foundation.
Overview
There are millions of people with disabilities in Thailand and South-east Asia who have to face physical and social barriers everyday, preventing them from making the most of their lives. Millions of them then ended up relying on charity and government budget as a disabled-person.
The real problem is the barriers they face in life, as people with particular conditions or disabilities. It is these barriers that disable them. And it is society, designed and run by non-disabled people, that puts those barriers up. It can take a while to grasp this idea but once you do, it is liberating.
“100,000” is the number of children with movement disabilities in Thailand, and the astounding number of these children in South-east Asia is “10,000,000”, they still get the least attention; but by understanding and learning the right support process, we can change this. At Zy Movement Foundation (ZMF), we want to improve the quality of life for children with movement disabilities that will allow them to live independently with the human rights that they deserve.
The working model
“Climb to Change a Life” is ZMF’s initiated and trademarked activity, aimed at helping children with movement disabilities to discover their real potential through this mundane yet powerful activity, reaching the difficult goal, summit the top of mountain, through interacting with the sense of compassion of volunteers who will be called “LIFE -CHANGERS” at the end of the activity. By working together to reach an epic goal through this fun and powerful activity, we expect to meet these 3 main objectives :
-
To empower children with movement disabilities through all the hard work they have done together with the team at “Climb to Change a Life” and believe that they always have support from society to reach their difficult goals to help develop their independent living
-
To empower families who have children with movement disabilities to have correct understanding and positive attitude on supporting and improving quality of life for their children
-
To create awareness for the public to have right attitude and to induce change in society towards persons with disabilities from “Charity Model - Giving money to them as disabled-persons” to be “Social Model - Treating these differently-abled persons on an equal basis”
Endorsed by specialist
Nearly 200 children with movement disabilities that have completed the “Climb to Change a Life” activity since 2012, from the stories told by their family that each one of them have great improvement on their abilities both physically and emotionally including spiritually but to confirm the benefits from “Climb to Change a Life” to these children, it has also got endorsed by medical & rehabilitation specialist from leading hospital and institute: click to see endorsement
University hospital Heidelberg
The International Vojta Society (IVG)
Queen Sirikit National Institute of Child Health (QSNICH)
Sirindhorn National Medical Rehabilitation Institue (SNRMI)
Sirindhorn School of Prosthetics and Orthotics (SSPO)
Center of Excellence for Prosthetic & Orthotic Services
Rajanukul Institute
What sponsorship gives you?
At Zy Movement Foundation, we do not give a man the fish to eat but we will teach him how to fish. Meaning we will work in all dimension to develop the infrastructure to address the needs of persons with disabilities that allow them to live equally by themselves but first they need to gain enough confidence to challenge their real potential.
This project can help develop the ability to live independently of children with mobility impairment as well as support the development of infrastructure to make equally living in this society is what we call a Sustainable Social Responsibility.
Congratulation on being one of the lesser but definitely growing number of companies embracing of Corporate Social Responsibilities (CSR) which is not only the right and ethical thing for every business to do but it is also becoming increasingly important in consumers' shopping decisions.
Sponsorship of “Climb to Change a Life” would allow us to work together to meet the goals of CSR, witnessed by 100+ participants who will be joining the climb and thousands more in their networks. The media is especially partial towards sustainable activities that involves children, who are the future of our society.
Your support makes it Possible!
Although these children are not fully able to use their hands or legs, but they sure have dreams and they are full of will power. After 20 successful projects of Climb to Change a Life and more to come around the world, bring us a conclusion that the children with movement disabilities can achieve difficult goals without legs or arms, means they can live a normal life, if they only get practical support from you, me and society, to believe in them.
ความในใจ ผู้เข้าร่วมโครงการ ปีนเพื่อเปลี่ยนชีวิต
SHARING SESSION (Knowleadge Management)
----------------------------------------
CTCAL #8 NOEN CHANG SUEK 2017
C1 & C2 น้องเฟย์ น้องฟิลด์
ครอบครัวน้องเฟย์ น้องฟิลด์
ขอบคุณพี่อาสาทุกท่านนะคะ ทั้งพี่มะปราง พี่แพนเค้ก พี่หมวย พี่เจี๊ยบ พี่ปอมส์ พี่แพรว ที่ช่วยดูแลเฟย์ฟิลด์เป็นอย่างดีตลอดกิจกรรมค่ะ พี่อาสาช่วยให้พวกเราพ่อแม่รู้สึกอบอุ่นใจ ไม่โดดเดี่ยว และช่วยแบ่งเบาให้เราได้พักบ้างแม้เป็นระยะสั้นๆ แต่มันก็สำคัญและยิ่งใหญ่ เพราะได้มิตรภาพช่วยหล่อเลี้ยงค่ะ
…………………………………………………………..………………………………………….
พี่แพนเค้ก P2
ถึงบ้านเรียบร้อยแล้วค่ะ ขอขอบคุณมิตรภาพดีดีที่เกิดขึ้นตลอด 2 วันที่ผ่านมา ขอบคุณน้อง เฟย์ น้องฟิลล์ เพื่อนๆ อาสาทุกคน ทีมงานทุกท่าน มูลนิธิซายมูฟเม้นท์ อี๊โกว ป๊าของน้องๆ โลกนี้มีสิ่งที่สวยงามเสมอ จะเก็บเป็นความทรงจำที่ดีตลอดไป ปีนเพื่อเปลี่ยนชีวิต 4
…………………………………………………………..………………………………………….
พี่หมวย P2
Climb to change a life ก่อนเข้าร่วมโครงการนี้ มีหลายคน สบประมาท ถากถาง ว่าจะไปทำไม ตัวเองยังเอาตัวไม่รอด แล้วจะพาน้องปีนเขาได้ยังไง ด้วยความที่ตัวเราเองมีโรคประจำตัว ไทรอยด์ มันเป็นต่อมไร้ท่อที่ควบคุมไม่ได้ ซึ่งก้อคงเหมือนกับน้องๆพิการทางการเคลื่อนไหว ที่จะต้องก้าวผ่านคำต่างๆเหล่านั้นด้วยความกล้า ด้วยจิตใจที่เข้มแข็ง มุ่งมั่น
ในขณะที่เรากำลังปีนเขาอยุ่นั้น มีความคิดที่แว๊บเข้ามาในสมอง ซึ่งตอนนั้นจำได้ว่ากลัว กลัวมาก กลัวว่าน้องจะเป็นอะไรไป อาจพลาดพลั้งทำให้บาดเจ็บได้ จนกระทั่งน้องบอกกับพี่ว่า ไปข้างบนกัน ทำให้พี่ต้องทำทุกวิถีทางเพื่อให้น้องได้ขึ้นไปด้านบนให้สมกับความตั้งใจของน้องๆ ทำให้เรารู้สึกได้ว่า เด็กพิเศษไม่ได้อยากให้เราช่วย แต่เค้าอยากให้เราสอนเค้าช่วยตัวเองมากกว่า
ขอบคุณความไร้เดียงสาที่บริสุทธิ์ รอยยิ้ม เสียงหัวเราะ ของน้องทั้งสองที่มอบให้พี่อาสาคนนี้ได้รับความรู้สึกที่พิเศษในชีวิต ทำให้ได้รู้ว่าการให้มีความหมายอย่างไร แล้วอะไรที่อยากได้กลับมา คงเป็นรอยยิ้มนี้ที่พี่จะจดจำไปตลอดเวลาที่ท้อแท้
สุดท้ายนี้ การปีนเพื่อเปลี่ยนชีวิตครั้งนี้ ทำให้ได้รู้ว่าอย่าได้ใส่ใจกับคำพูดคนอื่นให้มากนัก ถ้าคำพูดนั้นทำร้ายทำลายมากกว่าสร้างสรรค์ การตำหนินั้นง่ายกว่าชื่นชม การนินทาง่ายกว่าการถามไถ่ตรงๆ ดังนั้น.....จงฟัง แต่ไม่ใส่ใจ จงรับรู้แต่ปล่อยวาง แล้วเราจะทุกข์น้อยลง เพื่อทุกข์ที่น้อยลง...
#เฟย์ฟิลล์ชิลชิลบนเนินเขาc1c2 #ปีนเพื่อเปลี่ยนชีวิต #พิชิตเนินช้างศึก #มูลนิธิซายมูฟเม้นท์ #ZyMovementFoundation #ClimbToChangeALife #หนูจะแข็งแรงพ่อไม่ต้องห่วง
…………………………………………………………..………………………………………….
พี่เจี๊ยบ P1
เมื่อก่อนไม่รู้เลยว่า สติ๊กเกอร์ที่เราติดข้างกล่องผลิตภัณฑ์เค้กฝอยทองของเรานั้น มีความหมายอะไร ติดทำไม ติดเพื่ออะไร จนกระทั่ง วันที่ได้ไปร่วมโครงการ ปีนเพื่อเปลี่ยนชีวิต#4 Climb to Change a Life เพิ่งเข้าใจ มันทำให้เราได้รู้สึกพลังที่ไร้ข้อจำกัดใดใด สามารถทำทุกอย่างให้เป็นจริงได้ถ้าเราจะทำ
ขอบคุณน้องเฟย์ น้องฟิล์ล ที่ทำให้พี่รู้ว่า ความกลัวเป็นอุปสรรคทางจิตใจ ไม่ใช่อุปสรรคทางด้านร่างกาย หากเรากำจัดมันไปได้ พลังก็จะเป็นของเรา ขอบคุณมือน้อยๆของน้องทั้งสองที่จับพี่ไว้ด้วยใจที่อดทน แล้วเราก็พากันถึงจุดหมาย ขอบคุณทีมพี่อาสาที่เป็นกำลังใจให้กัน ตลอดโครงการ
#ปีนเพื่อเปลี่ยนชีวิต #พิชิตเนินช้างศึก #มูลนิธิซายมูฟเม้นท์ #ZyMovementFoundation #ClimbToChangeALife #หนูจะแข็งแรงพ่อไม่ต้องห่วง #Srifabakery
…………………………………………………………..………………………………………….
พี่แพรว P2
พี่ปอมส์ P1
พี่มะปราง P1
C3 & C4 น้องเดย์ น้องปลาเก๋า
พี่จ๋า P4
ขอบคุณโครงการ CTCAL#4 ปีนเพื่อเปลี่ยนชีวิตมากๆนะค่ะ เป็นครั้งแรกที่ได้ร่วมโครงการ ตอนแรกยอมรับว่าสมัครเข้าร่วมเพื่อความสนุกและหาประสบการณ์ใหม่ๆ แต่พอถึงวันที่ได้เจอกับน้องๆ ได้สัมผัสกับน้องๆ ความคิดก็เปลี่ยนค่ะ น้องทุกคนมีความพยายามและอดทนด้วยหัวใจที่บริสุทธิ์ ถึงแม้ร่างกายของน้องจะไม่สมบูรณ์ และดีใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้น้องๆไปถึงยอดเขาเนินช้างศึกสำเร็จ จากที่เหนื่อยล้าก็หายในพริบตา เมื่อได้ยินเสียงหัวเราะและเห็นรอยยิ้มของน้องๆ ที่สำคัญที่สุดยอมรับความอดทนและหัวใจของคุณพ่อคุณแม่ทุกท่านจริงๆ สุดยอดมากค่ะ
=============================================================
CTCAL #3 TEWADA PEAK 2015
I want to say…..
การบ้านครอบครัวแบม+เบณ
เมื่อบอกว่าจะพาไปปีนเขา พี่แบมและบิ๊กเบณดูตื่นเต้นและอยากไปมาก เจ้าบิ๊กเบณคงไม่ค่อยรู้เรื่องเท่าไหร่ รู้แค่ว่าปีนเขาคือขึ้นไปข้างบนสูงๆ เหมือนขึ้นบันไดบ้าน ส่วนแบมแบมคำถามแรกที่ถามคือ ”หนูจะทำได้เหรอแม่” แม่บอกว่า”ก็ไม่รู้สินะ(เพราะไม่แน่ใจจริงๆ) แต่ถ้าหนูพยายาม ก็น่าจะทำได้ ตอนนั้นพี่แบมเพิ่งผ่าตัดกระดูกสันหลังคดมาได้แค่2เดือนกว่าๆ แผลยาวตั้งแต่ต้นคอไปเกือบถึงก้นกก และต้องทำกายภาพเพิ่มเพราะกล้ามเนื้อยึดและตึงมากตัวงอเป็นกุ้ง เดินได้แป๊บๆก็เหนื่อย แม่บอกว่าลูกต้องตั้งใจและพยายามฝึกกายภาพเพราะมีเวลาแค่เดือนกว่าๆ ต้องทำร่างกายให้แข็งแรงถ้าอยากปีนขึ้นไปบนยอดเขาได้ ซึ่งพี่แบมก็พยายามและอดทนมากๆ ร้องไห้อยู่3วัน เพราะเจ็บและตึงไปทั้งตัว จากตัวงอๆก็เริ่มตรงขึ้น จากเดินเดี๋ยวเดียวเหนื่อยก็เริ่มเดินได้นานขึ้น เวลาพี่แบมงอแงไม่ยอมทำ แม่ก็จะเตือนว่า เรามีภาระกิจพิชิตยอดเขารออยู่นะ พี่แบมก็จะเลิกงอแงและฝึกต่อ จนผ่านไป1เดือน เริ่มฝึกเดินขึ้นลงบันได จาก2รอบ 3รอบ จนเป็น7รอบ เมื่อถึงวันที่ต้องปีนเขาจริงๆ แม่ไปกับกลุ่มพี่อาสาที่แบกบิ๊กเบณ พี่แบมเดินตามมากับพ่อและพี่อาสาที่เป็นผู้หญิง3คน แค่จากจุดปล่อยตัวมาถึงตีนเขาก็เหนื่อยสุดๆ แม่เริ่มคิดว่าพี่แบมคงไปไม่ถึงยอดเขาแน่ ก็เริ่มทำใจ แต่ลึกๆก็แอบลุ้น ขอให้พี่แบมทำได้ทีเถอะ
แล้วฉากดราม่าก็เกิดขึ้น เมื่อแม่เห็นพี่แบมเดินผ่านองค์พระเข้ามาพร้อมกับพ่อและพี่ๆอาสาซึ่งเป็นกลุ่มสุดท้าย น้ำตาแม่ไหลออกมา ภาพที่ลูกพยายามฝึกอย่างแข็งขัน ทั้งเหนื่อย ทั้งเจ็บ ทั้งร้องไห้ มันผ่านเข้ามาให้เห็น แม่อุ้มน้องวิ่งเข้าไปกอดพี่แบม สิ่งแรกที่พูดกับลูกคือบอกลูกว่า
”ลูกทำได้แล้วนะ” แล้วเราก็กอดกันร้องไห้
ตอนหลัง พ่อเล่าให้ฟังว่า พี่อาสาใจดีและใจเย็นกับน้องมากๆ ทั้งปลอบทั้งจูงทั้งนวด และให้กำลังใจ โดยมีพ่อคอยผลักดันประคองอยู่ข้างๆตลอดทาง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น การที่ขึ้นไปถึงยอดเขาได้เกิดจากการที่พี่แบมตัดสินใจและเลือกที่จะทำให้ได้ พ่อบอกสิ่งได้จากการไปร่วมกิจกรรมครั้งนี้คือ
1.เห็นความเมตตาใจดีจากพี่อาสา ที่มีให้ลูกเราทั้งๆที่ไม่เคยรู้จักกันมาก่อน (ตั้งแต่กลับมาพ่อใจดีและใจเย็นกับลูกขึ้นเยอะเลย)
2.แม้เราอาจจะโชคดี มีคนคอยช่วยและให้กำลังใจมากแค่ไหน แต่ความสำเร็จจะเกิดขึ้นไม่ได้เลย ถ้าเราไม่ลงมือทำ
ก็อยากจะขอบคุณพี่อาสาทุกคน ที่มาช่วยลูกๆของพวกเราทุกครอบครัวด้วยใจจริงๆและด้วยความจริงใจ
ขอบคุณพี่เนยพี่แพทพี่หยกที่พูดปลอบโยนให้กำลังใจและจูงมือน้องไม่ปล่อยเลย ขอบคุณพี่ซีที่นวดให้น้องตลอดทาง ขอบคุณพี่เป้พี่ฟิวส์พี่ไปซ์ที่แบกน้องอย่างแข็งขัน กับวิดีโอและข้อความสุดซึ้งแห่งปี
ขอบคุณพ่อที่ไม่ทิ้งให้เราอยู่ลำพัง
และขอบคุณมูลนิธิ zy movement ที่หยิบยื่นโอกาสดีๆเช่นนี้ให้เรา
และต้องขอขอบคุณเจ้าหน้าที่อุทยานที่ช่วยแบกพี่แบมช่วงขาลงที่เดินเองไม่ไหวแล้ว
นี่คือของขวัญปีใหม่ที่ดีที่สุดตั้งแต่เคยได้รับมา
ขอบคุณค่ะ….
เกี่ยวกับแบมแบม และบิ๊กเบณ
[TBC]
การบ้านพี่ๆอาสาทีมแบม+เบณ
สไปซ ทีมน้องบิ้กเบน https://www.youtube.com/watch?v=92ncAt4-uvA&app=desktop
ของผมตอนเหนคนเเชรกันไนเฟสบุคเข้าไปอ่านก้อสนไจขึ้นมาทันที จิงๆเเล้วผมไม่เคยออกค่ายอาสาเลยสักครั้งไนชีวิต ทําได้ดีที่สุดเเค่สอนน้องๆเต้นที่บ้านลูกรัก (เด็กกําพร้า)ที่จังหวัดขอนเเก่น คือผมเป็นคนไม่ค่อยคิดไรมาก ผมเเค่มีความคิดเเค่อย่างเดียวคือตัวผมเองยังมีความรู้สึกที่จะอยากเหนยอดเขานั้นๆเลยว่ามันเป็นยังไง ผมเลยเอาความรู้สึกตัวเองเป็นที่ตั้ง ว่า น้องก้อคงมีความรู้สึกเช่นเดียวกัน เพราะฉนั้นผมจึงตั้งไจมาเป็นเพียงเเค่เเขนเเละขาไหัน้องเเค่นั้น โดยที่ไม่คิดเลยว่าจะเจอไรเพราะผมก้อเป็นคนไม่ค่อยสนเท่าไร่เจตณาผมมีเเค่นั้น เเต่พอมาได้ทํากิจกรรมจิงๆ ก้อเหนน้องทั้งคนพี่ เเบมๆ เเละ บิ้กเบน ผมก้อไม่ค่อยกล้าคุยกะน้องเท่าไร่รวมถึงพี่ๆอาสาไนทีม จนได้นั้งกระบะด้วยกันทุกอย่างก้อเริ่มจากตรงนั้นได้สร้างมิตรไปตามการกระเด้งจะทางอันเเสนสนุก เริ่มมีการพูดคุยยิ้มหัวเราะกันจนถึงจุดที่ต้องปีนเราก้อสบายๆ ไครอยากสะพายน้องก่อนก้อลุย จนเราเริ่มเดินทางจากจุดเเรกไปเรื่อย ผมเป็นไม้2 จําไม่ได้ว่าระยะที่ทําไปเท่าไหร่ เพราะผมก้อคุยกะน้องยิ้มไปหัวเราะไป ก้อไม่คิดอะไร่มาก เเต่ก้บอกตามตรงว่าไม่ไช่งานง่ายๆ หลังเเทบขาดเหมือนกัน ระหว่างทางผมก้อได้เห็นคุณเเม่ป้อนนํ้าไห้น้อง ผมก้อไม่ได้คิดอะไรเท่าไหร่ เเต่ไนวินาทีต่อมาทุกอย่างเเทบเปลี่ยนความรู้สึกผม น้องดึงขวดนํ้ามาป้อนเเม่ทั้งๆที่น้องเองดื่มพอหรือยังก้อไม่รู้ ละน้องก้อเอามือมาเช็ดเหงื่อไห้คุณเเม่ซึ้งภาพเหล่านี้ผมไม่คิดว่าจะได้เห็น ผมได้เพียงเเต่คิดไนไจว่า "ไช่หรอเนี่ยนี่คือน้องที่ร่างกายไม่สมบูณทําเเบบนี้หรอเนี่ยเราเองสมบูณดีเเข้งเเรงทุกอย่างเเตีกลับไม่เคยคิดจะทําไรเเบบนี้เลย ผมรู้เพียงเเค่ว่า น้องบิ้กเบนนี่จิตไจไม่ไช่ธรรมดาน้องมีความคิดความรู้สึกเเละน้องทําเลย ทําไห้รู้สึกได้ถึงการเลี้ยงดูของพ่อเเม่ที่มอบความรักไห้น้องเเบบล้นฟ้า" หลังจากเราพากันถึงยอดเเล้ว น้องก้อยังคงความอารมดียิ้มตลอด คุนเเม่ก้อรอน้องเเบมๆถอดไจเเล้วคิดว่ากลับลงไปกะคุณพ่อเเล้ว เเต่ปล่าวเลย ไม่นานเกินรอน้องเเบมๆคนพี่ก้อมาถึง พอมาถึงปับ *น้องบิ้กเบนก้อกอดพี่สาวพี่สาวก้อกอดน้องร้องไห้ พ่อเเม่ก้อมากอดกันตัวกลม พากันร้องไห้ ผมเลย.....เห้ย นี่ขนาดนี้เลยอ่อ พลังของครอบครัวนี้นี่มันขนาดนี้เลยอ่อ ทําไมผมไม่เคยมีความรู้สึกเเบบนี้เลย ไม่คิดว่าขาเล็กๆของผมก้าวสั้นๆเล็กๆของผม จะกลายเป็นมีส่วนร่วมกะความสุขของครอบครัวนี้อย่างมหาศาล ซึ่งทีเเรกผมไม่คิดอะไรเลยไม่คิดจะหวังว่าจะได้อะไรจากโครงการนี้เลย กลับกลายเป็นผมนี่ละได้เต็มๆได้มากกว่าที่คิด จนต้องย้อนดูตัวเองว่าเราเเม้งทําไรอยูวะ สมเเล้วที่โครงการ ปีนเพื่อเปลี่ยนเเปลงชีวิต ผมก้อไม่รู้ว่าหลังจากนี้ครอบครัวน้องจะเปลี่ยนเเปลงไปไนทางไหน เเต่ครอบครัวนี้จะอยุในใจผมไปตลอด ความรู้สึกที่ผมไม่สารมารถบรรยายได้ทั้งหมด ทุกๆอย่างจะไม่เกิดขึ้นถ้าผมไม่คิดจะมาเห็นด้วยตาของตัวเอง ตอนนี้ปีนไม่ได้เพื่อเปลี่ยนไคร เปลี่ยนผมเองที่เเหละ <3
--------------------------------------------------------
~~ซีทีมน้องแบมแบม~~
จากการเข้าร่วมกิจกรรมจิตอาสาครั้งนี้
สิ่งที่ได้รับคือทั้งความรู้และความเข้าใจในน้องๆที่มีความแตกต่าง
เข้าใจผู้ปกครองและการใช้ชีวิตของน้องๆมากขึ้น
ได้มองเห็นว่ากิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่ต้องการ"การต่อยอด"
ในด้านการพัฒนาและสร้างความเชื่อมั่นในตัวเองของเด็กๆ ที่เข้าร่วมกิจกรรม
เป็นกิจกรรมที่ทำให้น้องๆ มีความมั่นใจในตัวเอง หลายๆ อย่างที่คนทั่วไปและตัวน้องๆ เอง อาจจะคิดว่าทำไม่ได้ แต่จริงๆ แล้ว ด้วยแรงสนับสนุนจากคนรอบข้าง รวมทั้งความตั้งใจของน้องๆ เอง ก็ทำให้สำเร็จได้ ไม่ใช่แค่การปีนเขา แต่เป็นนัย
ที่มีความหมายเกี่ยวเนื่องในทุกๆ ด้านของชีวิต
ในการใช้ชีวิตต่อไปในภายภาคหน้า น้องๆ จะต้องพบเจอคนหลากหลายและแตกต่าง ทั้งดีและไม่ดี
ความรักที่น้องได้รับจากกิจกรรมนี้
จะเป็นหนึ่งในภูมิต้านทานที่ดีของน้องๆ
ได้รู้ซึ้งถึงความรักและเข้าใจคำที่ว่า
"ไม่ว่าลูกจะเป็นยังไง พ่อแม่ก็รักและดูแลให้ดีที่สุด"
ในระหว่างกิจกรรม พี่ๆ อาสาในกลุ่มและพ่อแม่น้อง
ได้ช่วยกัน ผลักดัน ทั้งๆ ที่น้องถอดใจหลายรอบ แต่ก็กัดฟันไปถึงยอดเขาจนได้ ถึงจะเป็นลำดับสุดท้ายแต่ก็
ทำให้ได้เรียนรู้ว่า
บางเรื่องในชีวิต ไม่ต้องเป็นที่1 หรอก
แค่ทำให้สำเร็จก็พอ ทำตามเป้าหมายของเราเอง ไม่ต้องไปทำเพื่อชนะใคร
ทำให้ตัวเราเองและคนที่รักเรามีความสุขก็พอ
ถึงน้องจะแข็งแรงน้อยกว่า ไปช้ากว่า มีข้อจำกัดในบางด้านของร่างกาย แต่แบมแบมเองก็ไปถึงเหมือนคนอื่นๆ อยู่ดี
ขอบคุณกิจกรรมดีๆ ทั้งทางมูลนิธิ เจ้าหน้าที่ สปอนเซอร์และอาสาทุกๆ ท่านที่มีส่วนร่วมกับกิจกรรมนี้
เวลาแค่สองวันแต่สามารถเปลี่ยนแปลงและผลักดันให้น้องๆ กล้าที่จะฝัน
และสิ่งที่สำคัญคือ กล้าที่จะเชื่อว่าตัวเองทำตามความฝันได้
พี่ฟิวส์ ทีมบิ๊กเบณ http://myifew.com/2623/dont-climb-alone/
ผมคอยถามตัวเองอยู่เสมอถึงการปีนเขา แม้คำตอบที่ผมตอบตัวเองจะยังเหมือนเดิม แต่สิ่งที่เพิ่มเติมเข้ามาคือ "ความรู้สึกของวันนี้" วันที่ผมต้องแบกน้องคนหนึ่งขึ้นสู่ยอดเขาเทวดา
Author : Chitpong Wuttanan
--------------------------------------------------------
การบ้านครอบครัวโชกุน
พี่ไว ทีมน้องโชกุนครับ
การ ...”ก้าว”...เดินหรือเคลื่อนไหวอย่างอิสระตามที่ใจเราต้องการคงเป็นเรื่องธรรมดาสำหรับเราทุกคนทั่วไปที่พบเห็นได้ในสังคม แต่อีกหนึ่งมุมของความจริงใกล้ตัวเราก็คือยังมีคนอีกกลุ่มที่มีความผิดปกติทางด้านร่างกายทำให้ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้อย่างใจนึกเฉกเช่นเดียวกับเรา เราอาจเรียกเขาว่า ผู้พิการ ผู้บกพร่อง ผู้มีความผิดปกติ ฯลฯ แต่ผมกลับมองว่า เขาคือ “ผู้มหัศจรรย์” หลายครั้งที่ผมพบเห็นพวกเขาเหล่านั้น ผมทึ่งในความสามารถในการใช้ชีวิตของพวกเขา บางคนสายตามองไม่เห็นแต่กลับเดินทางไปนู้นไปนี่ได้อย่างคล่องแคล่วเช่นเดียวกันเรา แถมยังสามารถจดจำน้ำเสียงของทุกคนที่เคยร่วมสนทนาได้อย่างแม่นยำ บางคนไม่สามารถเดินได้แต่กลับสร้างสรรค์งานศิลปะหรือผลงานอื่นๆ ที่ผมเองก็ไม่สามารถทำได้ สิ่งหนึ่งที่ผมนับถือพวกเขาคือ “ใจ” พลังใจของพวกเขาน่าทึ่งมาก บางครั้งที่ผมรู้สึกท้อ หมดหวัง ผมเคยนึกถึงพวกเขา มันทำให้ผมมีกำลังใจที่จะก้าวเดินต่อไป
สิ่ง...”เล็กๆ”...ที่เราอาจหยิบยื่นให้กับพวกเขาได้อาจเป็นการช่วยพาเดินข้ามถนน อุดหนุนสิ่งของที่พวกเขาทำขึ้น แต่ครั้งนี้มันแตกต่างออกไป เพราะเราจะพากลุ่มเด็กๆ ที่เป็นผู้มหัศจรรย์ด้านการเคลื่อนไหวไปปีนเขา ใช่ครับ!! ได้ยินไม่ผิด “ปีนเขา” ครั้งแรกที่ได้ยินโครงการนี้ มันฉุดความคิดหลายๆ อย่างขึ้นมา ( เฮ้ย!! มันจะเป็นไปได้เหรอ มันจะขึ้นกันไหวเหรอ ขนาดแค่ตัวเราเองยังลำบาก กิจกรรมนี้เค้าทำมาเพื่ออะไร เด็กๆ จะงอแงหรือเปล่า จะดิ้นไหม จะร้องไหม เด็กๆ กลุ่มนี้มาจากไหน มูลนิธิ?? ถูกทอดทิ้งหรือเปล่า ใครเป็นคนจัดกิจกรรมนี้ขึ้น ฯลฯ) ผมเฝ้ารอให้ถึงวันกำหนดการเดินทาง และแล้ว 21 พฤศจิกายน 2558 ก็มาถึง ....วันเริ่มต้นแห่งการเดินทาง
สถาน...”ที่”...ที่เราจะมุ่งหน้าไปนั่นก็คือ ยอดเขาเทวดา อุทยานแห่งชาติพุเตย ซึ่งถือเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในจังหวัดสุพรรณบุรี ทุกคนดูมีความพร้อมมาก มาตามกำหนดเวลาเป๊ะ!! เราใช้เวลากว่าครึ่งวันในการเดินทางไปยังจุด start เพื่อเริ่มต้นกิจกรรมปีนเขา แต่เหนือสิ่งอื่นใดระยะเวลาระหว่างทางมันมีค่ามากกว่าการนั่งรถไปเรื่อยๆ เพื่อให้ถึงจุดหมาย ขณะที่เรานั่งอยู่บนรถกระบะแยกเป็นกลุ่มๆ ตามครอบครัวของน้องๆ คนแปลกหน้าได้มาเจอกัน เหล่าพี่ๆ อาสาต่างคนต่างที่มา ทุกคนบนรถได้พูดคุยแลกเปลี่ยนทัศนคติต่อกัน ได้คุยกับน้องๆ ผู้มหัศจรรย์ ได้เล่น ได้หยอก ได้เหย้า กันไปตลอดทาง รอยยิ้ม เสียงหัวเราะ ปรากฏขึ้นตลอดทาง สิ่งหนึ่งที่ผมสังเกตได้คือ กลุ่มคนอาสาทุกคนมีหัวใจดวงเดียวกัน หัวใจที่ยอมเสียสละเวลาส่วนตัวเพื่อสังคม หัวใจที่กล้าเปลี่ยนตัวเองเพื่อสังคม หัวใจที่พร้อมรับใช้สังคม หัวใจที่ทำเพื่อผู้อื่นมากกว่าประโยชน์ส่วนตน บางคนทำกิจกรรมด้านอาสาอยู่แล้ว ออกค่ายอาสา แจกสิ่งของเครื่องนุ่งห่มตามพื้นที่ห่างไกล เป็นครูอาสาช่วยสอนเด็กในสลัม ฯลฯ แต่กิจกรรมปืนเขาแบบนี้ถือเป็นสิ่งแปลกใหม่สำหรับคนส่วนใหญ่ ....หลังจากนั่งรถมานานก็ถึงเสียที จุด start เพื่อพิชิตยอดเขาเทวดา
ยิ่งเดินทำไมเหมือน...”ยิ่ง”...ไกล 555 นี่แหละการปีนเขา ความลาดชัน อากาศที่ค่อนข้างร้อน แสงแดดที่แผดเผาลงมาเวลายามบ่าย มันคืออุปสรรคที่เราต้องก้าวผ่านไปให้สำเร็จ หลังจากแบ่งกลุ่มกันเรียบร้อยแล้ว ก็เริ่มทยอยปล่อยตัวสู่การปีนเขาในครั้งนี้ เราผลัดกันช่วยแบกน้อง ตอนแรกๆ เป็นทางลาด เดินกันสบายหน่อย แต่พอเริ่มทางชันเท่านั้นแหละ หึหึ ความเร็วก็เริ่มตกลง ผมยอมรับเลยว่าเหนื่อย (คือเอาจริงก็ไม่ได้ฟิตร่างกายอะไรมาเลย ทำงานเลิกดึกก็กลับบ้านนอน 555) แต่สุดท้ายเราก็พาน้องๆ ไปถึงจุดหมายได้สำเร็จ เย่!! ระหว่างทาง บ้างพัก บ้างเหนื่อย บ้างลื่น บ้างเซ แต่ทุกคนก็คอยให้กำลังใจซึ่งกันและกัน เป็นอีกหนึ่งภาพความประทับใจระหว่างทาง หลายคนไม่ได้รู้จักกันมาก่อน แต่ทุกคนคอยช่วยเหลือซึ่งและกัน เป็นภาพที่ผมชอบมาก น้องๆ ผู้มหัศจรรย์น่ารัก ไม่งอแง ไม่ดิ้น ไม่ดื้อเลย (อาจจะมีบ้างเล็กน้อย แต่โดยรวมน่ารักมาก) ผมได้เห็นรอยยิ้มของน้องๆ รอยยิ้มของเหล่าพ่อแม่ รอยยิ้มของทุกคนในโครงการ มันเป็นภาพแห่งความสนุก ทุกคนไม่ได้แสดงออกถึงความเหน็ดเหนื่อย ความย่อท้อ หรือความกังวลใดๆ ในแววตาทุกคนมีแต่ความมุ่งมั่นที่จะพิชิตยอดเขาให้สำเร็จ ถึงเหงื่อจะท่วมกาย ถึงขาอ่อนแรง แต่ใจยังสู้ สุดท้ายเราก็ถึงเป้าหมาย
ความประทับใจสุดยิ่ง...”ใหญ่”...น้ำตาแห่งความสุข รอยยิ้ม เสียงหัวเราะ คร